รูปภาพของผมครับ

วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

โรคไข้หัดสุนัข




โรคไข้หัดสุนัข

line dogline dogline dogline dog 







โรคไข้หัดสุนัข


ไข้หัดสุนัขคืออะไร
ไข้หัดสุนัข หรือ canine distemper เป็นโรคที่เกิดขึ้นในสัตว์ตระกูลสุนัข
ไข้หัดเป็นโรคชนิดที่มีผลต่อประชากรสุนัขในโลกมากที่สุดโรคหนึ่ง.
สุนัขที่โตเต็มที่ที่ติดเชื้อนี้มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์จะตาย
ส่วนในลูกสุนัขอัตราการป่วยตายประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์
ในสุนัขบางตัวที่ป่วยและมีภูมิต้านทานต่อเชื้อ
สุนัขอาจจะไม่ตายจากการติดเชื้อ แต่มักจะมีความผิดปกติ(ตลอดไป)
เช่น เกี่ยวกับระบบประสาท
เนื่องจากเชื้อไวรัสทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบประสาท
รวมทั้งประสาทรับกลิ่น การฟัง หรือแม้กระทั่งเกี่ยวกับการมองเห็น
ส่วนอาการที่ทำให้เกิดอัมพาตบางส่วน หรือทั้งตัวพบได้น้อย ส่วนโรคอื่นๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปอดชื้นเป็นภาวะที่พบได้บ่อยมาก
มักเกิดแทรกซ้อนขึ้นเมื่อสุนัขมีความอ่อนแอจากการติดเชื้อไวรัสไข้หัด
ลูกสุนัข หรือสุนัขที่มีอายุน้อยมักจะไวต่อการติดเชื้อ
แต่โรคนี้ก็สามารถเกิดขึ้นในสุนัขที่มีอายุมากได้เช่นกัน แต่พบได้น้อยกว่า
นั่นหมายความว่าโรคไข้หัดสุนัขพบได้ในสุนัขทุกอายุ
ทั้งโรคไข้หัดสุนัขและโรคตับอักเสบติดต่อในสุนัขไม่ติดคน

ไข้หัดมีผลต่อสุนัขอย่างไร
โรคไข้หัดสุนัขเป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรงสำหรับสุนัขเกิดจากเชื้อไวรัสขนาดเล็ก
เชื้อไวรัสไข้หัดสุนัขติดต่อได้ด้วยการสัมผัสกับสิ่งคัดหลั่งจากตาและจมูกของสุนัขที่ป่วยเป็นโรคนี้
แต่การสัมผัสกับน้ำปัสสาวะและอุจจาระของสุนัขที่ป่วยสามารถทำให้ติดโรคนี้ได้เหมือนกัน
สุนัขปกติสามารถติดเชื้อได้โดยที่ไม่ได้สัมผัสกับสุนัขที่เป็นไข้หัดสุนัขก็ได้
คอกสุนัข หรือบริเวณที่สุนัขเล่น
หรืออยู่ของสุนัขป่วยอาจจะเป็นแหล่งแพร่เชื้อไปยังสุนัขปกติได้
การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสไข้หัดสุนัขสามารถแพร่ไปได้โดยทางอากาศและวัตถุสิ่งของต่างๆ
อาการป่วยของสุนัขที่ป่วยด้วยโรคไข้หัดสุนัขมักมีไม่มีรูปแบบที่แน่นอน
ด้วยเหตุนี้ในบางครั้งทำให้วินิจฉัยได้ช้า ทำให้การรักษาทำได้ช้ากว่าปกติ
หรือละเลยโรคนี้ไป
เนื่องจากในบางครั้งสุนัขจะมีอาการเหมือนกับเป็นหวัดอย่างรุนแรง
สุนัขส่วนใหญ่ที่ป่วยเป็นโรคนี้
มักมีไข้สูงและสุนัขบางตัวอาจจะพบอาการของหลอดลมอักเสบ
ปอดอักเสบและมีอาการกระเพาะอาหารอักเสบและลำไส้อักเสบอย่างรุนแรงอย่างรุนแรงได้

อาการที่พบได้ในระยะแรกๆ
ของการติดเชื้อไข้หัดสุนัขคือ เจ้าของอาจจะพบว่าสุนัขมีอาการตาอักเสบ
ไม่สู้แสง มีขี้ตามาก สุนัขมีน้ำหนักตัวลด ไอ อาเจียน และมีน้ำมูก
บางครั้งอาจจะพบว่าสุนัขมีอาการท้องเสียร่วมด้วย การติดเชื้อในระยะท้ายๆ
มักจะพบว่าเชื้อไวรัสมีการเข้าไปอยู่ในระบบประสาท
ทำให้สุนัขมีอาการอัมพฤกษ์ มีอาการชักกระตุก เกร็งได้
สุนัขที่ป่วยด้วยโรคนี้มักจะซึม ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม
รวมทั้งการกินอาหารด้วย ในบางครั้ง
หรือในสุนัขบางตัวสุนัขป่วยอาจจะแสดงอาการไม่มาก หรือไม่ชัดเจน
ทำให้ไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้ เช่น
สุนัขอาจจะมีไข้เพียงเล็กน้อยเป็นระยะเวลา 1-2 สัปดาห์
หรือถ้ามีภาวะปอดชื้น หรือมีการอักเสบของลำไส้ หรืออาการอื่นๆ เกิดขึ้น
มีผลทำให้การฟื้นตัวของสุนัขในกลุ่มนี้ยาวนานออกไป (สุนัขกลุ่มนี้มักไม่ตาย)

ปัญหาทางระบบประสาทมักจะพบได้ภายหลังจากที่สุนัขฟื้นตัวจากการป่วย(หลายสัปดาห์)
ในสุนัขบางรายเชื้อไวรัสจะทำให้มีการเจริญของ tough keratin cells
ของฝ่าเท้า ทำให้ฝ่าเท้าหนาและแข็ง
โรคไข้หัดสุนัขเป็นโรคที่พบได้อย่างแพร่หลายและอาการป่วยจากการติดเชื้อค่อนข้างผันแปร
มีความไม่แน่นอนค่อนข้างสูง
ดังนั้นควรนำสุนัขที่สงสัยว่าป่วยไปพบสัตวแพทย์

การป้องกัน
สุนัขที่รอดชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสไข้หัดสุนัขมักจะมีภูมิต้านทานที่เพียงพอที่จะต่อสู้กับเชื้อไวรัส
สุนัขจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกสุนัขมักจะตายจากการติดเชื้อไวรัสนี้
การป้องกันโรคที่ดีที่สุดคือ การฉีดวัคซีนป้องกันโรค
แต่ยังไม่มีวัคซีนชนิดใดเลยที่สามารถจะให้ภูมิคุ้มกันได้ตลอดชีวิตของสุนัข
ดังนั้นสุนัขจึงต้องมีการฉีดวัคซีนกระตุ้นเป็นประจำทุกปี
ลูกสุนัขที่เกิดมาจะมีภูมิคุ้มกันโรคนี้ในระดับหนึ่ง
ภูมิคุ้มกันนี้เป็นภูมิคุ้มกันที่ได้รับมาจากแม่สุนัขหลังจากที่คลอดออกมาแล้ว
ผ่านทางนมน้ำเหลือง(ไม่เกิน 72 ชั่วโมงหลังคลอด)
ดังนั้นระดับภูมิคุ้มกันของลูกสุนัขจึงขึ้นอยู่กับภูมิกันของแม่สุนัข
โดยทั่วไปมักมีระดับไม่สูงมากนัก
ภูมิคุ้มกันที่รับจากแม่สุนัขผ่านทางนมน้ำเหลืองนี้จะลดลงอย่างรวดเร็ว
เมื่อลูกสุนัขอายุประมาณ 8
วันระดับภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากแม่จะลดลงประมาณครึ่งหนึ่ง และลดลงประมาร
3 ใน 4 หรือ 75 เปอร์เซ็นต์ที่อายุประมาณ 2 สัปดาห์
ดังนั้นการฉีดวัคซีนให้กับลูกสุนัขจึงมักกระทำเมื่อระดับภูมิคุ้มกันจากแม่หมดไป
ซึ่งสามารถทำได้ด้วยการตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกันในกระแสเลือด
แต่โดยทั่วไปมักจะทำการฉีดวัคซีนเข็มแรก เมื่อลูกสุนัขอายุประมาณ 8
สัปดาห์ การมีสุขภาพดีของสุนัข
เจ้าของสัตว์จะต้องให้ความใส่ใจในการดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างใกล้ชิดและควรทำเป็นประจำ
เพื่อลดโอกาสการป่วยชองสัตว์ ดังนั้นเจ้าของสุนัขควรปรึกษา
หรือนำสัตว์ไปพบสัตวแพทย์ เมื่อพบว่า สุนัขมีอาการต่างๆ เหล่านี้
พบมีสิ่งคัดหลั่งที่ผิดปกติออกจากจมูก ตา หรือช่องเปิดอื่นๆของร่างกาย
สัตว์เลี้ยงไม่กินอาหาร มีน้ำหนักลดลง หรือกินน้ำมากขึ้นกว่าปกติ
ขับถ่ายลำบาก หรือผิดปกติ หรือไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้
พบมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ หรือพบมีความดุร้ายขึ้นอย่างกะทันหัน
หรืออ่อนเพลีย พบมีก้อนผิดปกติ เดินกระโผลกกระเผลก ลุกหรือนอนลำบาก
มีการสั่นหัวมากผิดปกติ เกา หรือเลีย หรือกัดแทะตามลำตัวมากผิดปกติ
มีรังแค ขนร่วง มีแผลกดทับ หรือมีขนหยิกหยอง หยาบไม่มันวาว
ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น หรือพบมีหินปูนเกาะที่ฟันมาก

อ้างอิง สพ.มก.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น