"โรคลำไส้อักเสบ"
โดย สัตวแพทย์ อิทธิเดช วิเชียรรัตน์
สวัสดีครับ ท่านเจ้าของสัตว์ทุกท่าน อยากนำเสนอเรื่อง
โรคติดต่อในสุนัข ที่เจอบ่อย
ความจริงทางโรงพยาบาลสัตว์ เคยนำเสนอเรื่องดังกล่าวมาแล้ว
แต่ยังมีลูกค้าใหม่และลูกค้าเก่าบางท่าน ยังเข้าใจคลาดเคลื่อนอยู่
และมีลูกค้าหลายท่านเข้าใจเป็นอย่างดีแล้ว ไม่ว่าอย่างไรก็แล้วแต่
ต่อไปนี้หวังว่า เจ้าของสัตว์เลี้ยง คงได้ความรู้เพิ่มขึ้น
โรคติดต่อในสุนัขที่เจอบ่อย ที่ รพ.สัตว์นครศรีธรรมราช
อาจรวมถึงที่อื่นๆในประเทศไทยและต่างประเทศ
1.โรคลำไส้อักเสบติดต่อ จากเชื้อไวรัส (canine viral enteritis หรือ cve )
เป็นโรคติดต่อที่ทำให้สุนัขเสียชีวิตมากที่สุด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
โดยเฉพาะสัตว์ที่ไม่ได้รับวัคซีน แล้วมีการติดเชื้อเป็น
สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสพาโวไวรัส (รุนแรง) โคโลน่าไวรัส
(ไม่รุนแรง) โรทาไวรัสหรืออาจติดเชื้อร่วมกัน
ซึ่งจะทำให้อาการของโรครุนแรงยิ่งขึ้น (ติดเชื้อพาโวไวรัส ร่วมกับโคโรน่าไวรัส)
การติดต่อ เกิดจากการ กินหรือเลียสิ่งคัดหลั่ง และสิ่งขับถ่ายจากสุนัข
ตัวที่เป็นโรค ได้แก่ อุจจาระ (มากที่สุด) , ปัสสาวะ , น้ำลาย
อาการ สุนัขจะไม่แสดงทันทีหลังติดเชื้อ ใช้เวลาฟักตัวนาน 37
วัน ซึ่งเป็นช่วงที่เชื้อเพิ่มปริมาณ ในร่างกายสัตว์ เมื่อสัตว์แสดงอาการ
อาการวันแรกที่แสดงออกคือซึม ไม่กินอาหาร อาเจียน เป็นอยู่ประมาณ 2 วัน
วันที่ 3จะเริ่มถ่ายออกมาเป็นเลือด ไข้สูง (หรือไข้ขึ้น ตั้งแต่วันแรกแล้ว)
อาการ ซึม ไม่กินอาหาร อาเจียน ยังมีอยู่ ตำแหน่งที่เชื้อไปอยู่ที่
ร่างกายสัตว์ที่สำคัญ คือ ที่ เยื่อบุส่วนที่ทำหน้าที่ ดูดซึมอาหาร หรือ
ที่เรียกว่า วิลไล (villi) ได้แก่เชื้อโคโรน่าไวรัส
และโรทาไวรัส ส่วนเชื้อพาโวไวรัสจะอาสัยอยู่ที่ฐานของวิลไล
หรือที่เรียกว่า คริปท์ (crypt of liverkhun)
เฉพาะบางครั้งเวลาสุนัขเป็นโรคนี้ จะถ่ายออกมาเป็นมูก
หรือเป็นมูกแบบมีเลือด ปนเล็กน้อย อาการจะเป็นไม่รุนแรงยังร่าเริง
แสดงว่าสุนัขติดเชื้อ โรทา หรือโคโรนาไวรัส (หรือเชื้อชนิดไม่รุนแรงอื่นๆ เช่นเชื้อแบคทีเรียบางชนิด หรือโปรโตซัว ) ส่วนกรณีย์ติดเชื้อพาโวไรรัส ร่วมด้วยจะพบว่ามีอาการสุนัขถ่ายเป็นเลือดสดๆ
และจะเป็นการติดเชื้ออย่างรุนแรง สัตว์ที่ไม่เคยทำวัคซีนมาก่อน
มักจะเสียชีวิต โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่มีความไวต่อโรคนี้ ได้แก่ ดัลเมเชียล
ร๊อตไวเลอร์ พุดเดิ้ล ลาบราดอร์ อัลเซเชียน เป็นต้น ส่วนสุนัขไทย
มีความต้านทานต่อโรคนี้สูงกว่า
การักษา ไม่มียารักษา สำหรับฆ่าเชื้อไวรัสทั้ง 3 ชนิด ที่กล่าวมาได้เลย
ไม่ว่าที่ไหนก็ต้องรักษาตามอาการเหมือนกัน ได้แก่ให้สารน้ำคือน้ำเกลือ
ยาบำรุง ยาแก้อาเจียน ยาเคลือยบลำไส้ยาปฏิชีวนะป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน
สัตว์ตัวที่แข็งแรงมักตอบสนองต่อการรักษาดี ตัวที่หายมักใช้เวลา
เฉลี่ย 7 วัน ส่วนตัวที่ไวต่อโรคมักเสียชีวิตภายใน 3 วัน
หลังจากถ่ายเป็นเลือด การรักษาที่ดีที่สุดคือ
การให้น้ำเกลือเข้าทางเส้นเลือดดำ ร่วมด้วยการให้ยาฉีด
ซึ่งบางชนิดอาจฉีดวันละ 3- 4 ครั้งเช่นยาแก้อาเจียน ยาเคลือบลำไส้
เพราะฉะนั้น สุนัขที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้จะมีโอกาสหายสูงกว่า
สุนัขที่ได้รับน้ำเกลือทางเข้าผิวหนัง หรือไม่ได้รับน้ำเกลือเลย
โรคนี้มักเป็นในสุนัข 2 เดือน- 1 ปี
โดยเฉพาะสุนัขที่ไม่ได้ทำวัคซีนลำไส้อักเสบติดต่อมาเลย
เนื่องจากสุนัขอายุน้อยไวต่อโรคมากกว่าสุนัข โต หรืออายุมาก
แต่สุนัขโตก็มี
โอกาสเป็นได้ ส่วนสุนัขที่อายุน้อยกว่า 1 เดือน
มีภูมิจากน้ำนมแม่อยู่จะทำให้ไม่เกิดโรค
และโอกาสได้รับเชื้อน้อยกว่าเนื่องจากอยู่กับแม่
การป้องกัน
โดยการทำวัคซีนป้องกันโรคลำไส้อักเสบติดต่อ จากเชื้อพาโวไวรัส
วัคซีนบางยี่ห้อ มีป้องกันโคโรน่าไวรัสด้วย
แต่อย่างน้อยต้องป้องกันเชื้อพาโวไวรัสได้
เนื่องจากเชื้อโคโรน่าไวรัสเป็นแล้วรักษาหาย แต่ถ้าติดเชื้อพาโวไวรัส
เปอร์เซนต์การตายสูงมาก โดยเฉพาะสัตว์สายพันธุ์ที่ไวต่อโรค
และสัตว์ที่อ่อนแอ หรือสัตว์ที่เป็นพยาธิร่วมด้วย เช่นพยาธิปากขอ
หรือพยาธิไส้เดือน การฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ เริ่มฉีดตั้งแต่สุนัขอายุได้
45 วัน แต่ถ้าสุนัขอายุ 2 เดือนขึ้นไปแล้วมักฉีดใน รูปของวัคซีนรวม
ที่ประกอบด้วย โรคลำไส้อักเสบ ไข้หัดสุนัข ตับอักเสบและโรคเลปโตสไปโรซีส
(ฉี่หนู) อยู่ในเข็มเดียวกัน อยู่ในเข็มเดียวกัน แต่การฉีดนั้นต้องฉีด 2
ครั้ง ห่างกัน 1เดือน
เพื่อกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันสูงเพียวพอที่จะป้องกันโรค
และหลังจากนั้นฉีดปีละครั้ง
นอกจากการทำวัคซีนแล้วการฆ่า เชื้อบริเวณคอก หรือกรงสัตว์เลี้ยง
ช่วยควบคุมการแพร่โรคได้ แต่ต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่มีส่วนผสมของสาร
โซเดียม ไฮโปคลอไรท์
ซึ่งสารดังกล่าวมีอยู่ในน้ำยาซักผ้าขาว ไฮเตอร์
นั้นเอง อาจเทใส่ ฟอกกี้ แล้วฉีดพ่นกรง
แล้วนำกรงไปตากแดดหรือใช้ราดบริเวณคอกได้ ส่วนยาฆ่าเชื้ออื่นๆเช่น
เดทตอล หรือ แอลกอฮอล์
ไม่สามารถฆ่าเชื้อพาโวไวรัสได้
สุนัขตัวที่เป็นโรคเมื่อถ่ายอุจจาระออกมาแล้ว เชื้ออยู่ได้นาน 5- 6 เดือน
ในสิ่งแวดล้อมโดยที่เชื้อไม่ตาย
เพราะนั้นไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมโรคนี้ถึงพบได้บ่อย พบได้ตลอดปี
แต่ช่วงฤดูฝนพบบ่อยที่สุด เนื่องจากเชื้อกระจายได้ง่าย
สาเหตุที่ทำให้โรคนี้ติดต่อและระบาดได้ ทั่วไปคือ
สุนัขจนจัด และ สัตว์อายุมาก ที่เป็นแหล่งอมโรค
คือมีเชื้อในร่างกาย แต่ไม่แสดงอาการของโรค
เนื่องจากทนต่อโรคมากกว่าลูกสุนัข
บางครั้งพบว่าการที่สุนัขบางตัวชอบเลียรองเท้า ก็สามารถเกิดโรคได้
ทั้งที่ไม่เคยออกนอกบ้านเลย เนื่องจากเจ้าของเดินไปเหยียบย่ำที่ต่างๆ
อาจมีเชื้อปนเปื้อนอยู่
อ้างอิง http://www.thaivet.org
โดย สัตวแพทย์ อิทธิเดช วิเชียรรัตน์
สวัสดีครับ ท่านเจ้าของสัตว์ทุกท่าน อยากนำเสนอเรื่อง
โรคติดต่อในสุนัข ที่เจอบ่อย
ความจริงทางโรงพยาบาลสัตว์ เคยนำเสนอเรื่องดังกล่าวมาแล้ว
แต่ยังมีลูกค้าใหม่และลูกค้าเก่าบางท่าน ยังเข้าใจคลาดเคลื่อนอยู่
และมีลูกค้าหลายท่านเข้าใจเป็นอย่างดีแล้ว ไม่ว่าอย่างไรก็แล้วแต่
ต่อไปนี้หวังว่า เจ้าของสัตว์เลี้ยง คงได้ความรู้เพิ่มขึ้น
โรคติดต่อในสุนัขที่เจอบ่อย ที่ รพ.สัตว์นครศรีธรรมราช
อาจรวมถึงที่อื่นๆในประเทศไทยและต่างประเทศ
1.โรคลำไส้อักเสบติดต่อ จากเชื้อไวรัส (canine viral enteritis หรือ cve )
เป็นโรคติดต่อที่ทำให้สุนัขเสียชีวิตมากที่สุด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
โดยเฉพาะสัตว์ที่ไม่ได้รับวัคซีน แล้วมีการติดเชื้อเป็น
สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อไวรัสพาโวไวรัส (รุนแรง) โคโลน่าไวรัส
(ไม่รุนแรง) โรทาไวรัสหรืออาจติดเชื้อร่วมกัน
ซึ่งจะทำให้อาการของโรครุนแรงยิ่งขึ้น (ติดเชื้อพาโวไวรัส ร่วมกับโคโรน่าไวรัส)
การติดต่อ เกิดจากการ กินหรือเลียสิ่งคัดหลั่ง และสิ่งขับถ่ายจากสุนัข
ตัวที่เป็นโรค ได้แก่ อุจจาระ (มากที่สุด) , ปัสสาวะ , น้ำลาย
อาการ สุนัขจะไม่แสดงทันทีหลังติดเชื้อ ใช้เวลาฟักตัวนาน 37
วัน ซึ่งเป็นช่วงที่เชื้อเพิ่มปริมาณ ในร่างกายสัตว์ เมื่อสัตว์แสดงอาการ
อาการวันแรกที่แสดงออกคือซึม ไม่กินอาหาร อาเจียน เป็นอยู่ประมาณ 2 วัน
วันที่ 3จะเริ่มถ่ายออกมาเป็นเลือด ไข้สูง (หรือไข้ขึ้น ตั้งแต่วันแรกแล้ว)
อาการ ซึม ไม่กินอาหาร อาเจียน ยังมีอยู่ ตำแหน่งที่เชื้อไปอยู่ที่
ร่างกายสัตว์ที่สำคัญ คือ ที่ เยื่อบุส่วนที่ทำหน้าที่ ดูดซึมอาหาร หรือ
ที่เรียกว่า วิลไล (villi) ได้แก่เชื้อโคโรน่าไวรัส
และโรทาไวรัส ส่วนเชื้อพาโวไวรัสจะอาสัยอยู่ที่ฐานของวิลไล
หรือที่เรียกว่า คริปท์ (crypt of liverkhun)
เฉพาะบางครั้งเวลาสุนัขเป็นโรคนี้ จะถ่ายออกมาเป็นมูก
หรือเป็นมูกแบบมีเลือด ปนเล็กน้อย อาการจะเป็นไม่รุนแรงยังร่าเริง
แสดงว่าสุนัขติดเชื้อ โรทา หรือโคโรนาไวรัส (หรือเชื้อชนิดไม่รุนแรงอื่นๆ เช่นเชื้อแบคทีเรียบางชนิด หรือโปรโตซัว ) ส่วนกรณีย์ติดเชื้อพาโวไรรัส ร่วมด้วยจะพบว่ามีอาการสุนัขถ่ายเป็นเลือดสดๆ
และจะเป็นการติดเชื้ออย่างรุนแรง สัตว์ที่ไม่เคยทำวัคซีนมาก่อน
มักจะเสียชีวิต โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่มีความไวต่อโรคนี้ ได้แก่ ดัลเมเชียล
ร๊อตไวเลอร์ พุดเดิ้ล ลาบราดอร์ อัลเซเชียน เป็นต้น ส่วนสุนัขไทย
มีความต้านทานต่อโรคนี้สูงกว่า
การักษา ไม่มียารักษา สำหรับฆ่าเชื้อไวรัสทั้ง 3 ชนิด ที่กล่าวมาได้เลย
ไม่ว่าที่ไหนก็ต้องรักษาตามอาการเหมือนกัน ได้แก่ให้สารน้ำคือน้ำเกลือ
ยาบำรุง ยาแก้อาเจียน ยาเคลือยบลำไส้ยาปฏิชีวนะป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน
สัตว์ตัวที่แข็งแรงมักตอบสนองต่อการรักษาดี ตัวที่หายมักใช้เวลา
เฉลี่ย 7 วัน ส่วนตัวที่ไวต่อโรคมักเสียชีวิตภายใน 3 วัน
หลังจากถ่ายเป็นเลือด การรักษาที่ดีที่สุดคือ
การให้น้ำเกลือเข้าทางเส้นเลือดดำ ร่วมด้วยการให้ยาฉีด
ซึ่งบางชนิดอาจฉีดวันละ 3- 4 ครั้งเช่นยาแก้อาเจียน ยาเคลือบลำไส้
เพราะฉะนั้น สุนัขที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้จะมีโอกาสหายสูงกว่า
สุนัขที่ได้รับน้ำเกลือทางเข้าผิวหนัง หรือไม่ได้รับน้ำเกลือเลย
โรคนี้มักเป็นในสุนัข 2 เดือน- 1 ปี
โดยเฉพาะสุนัขที่ไม่ได้ทำวัคซีนลำไส้อักเสบติดต่อมาเลย
เนื่องจากสุนัขอายุน้อยไวต่อโรคมากกว่าสุนัข โต หรืออายุมาก
แต่สุนัขโตก็มี
โอกาสเป็นได้ ส่วนสุนัขที่อายุน้อยกว่า 1 เดือน
มีภูมิจากน้ำนมแม่อยู่จะทำให้ไม่เกิดโรค
และโอกาสได้รับเชื้อน้อยกว่าเนื่องจากอยู่กับแม่
การป้องกัน
โดยการทำวัคซีนป้องกันโรคลำไส้อักเสบติดต่อ จากเชื้อพาโวไวรัส
วัคซีนบางยี่ห้อ มีป้องกันโคโรน่าไวรัสด้วย
แต่อย่างน้อยต้องป้องกันเชื้อพาโวไวรัสได้
เนื่องจากเชื้อโคโรน่าไวรัสเป็นแล้วรักษาหาย แต่ถ้าติดเชื้อพาโวไวรัส
เปอร์เซนต์การตายสูงมาก โดยเฉพาะสัตว์สายพันธุ์ที่ไวต่อโรค
และสัตว์ที่อ่อนแอ หรือสัตว์ที่เป็นพยาธิร่วมด้วย เช่นพยาธิปากขอ
หรือพยาธิไส้เดือน การฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ เริ่มฉีดตั้งแต่สุนัขอายุได้
45 วัน แต่ถ้าสุนัขอายุ 2 เดือนขึ้นไปแล้วมักฉีดใน รูปของวัคซีนรวม
ที่ประกอบด้วย โรคลำไส้อักเสบ ไข้หัดสุนัข ตับอักเสบและโรคเลปโตสไปโรซีส
(ฉี่หนู) อยู่ในเข็มเดียวกัน อยู่ในเข็มเดียวกัน แต่การฉีดนั้นต้องฉีด 2
ครั้ง ห่างกัน 1เดือน
เพื่อกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันสูงเพียวพอที่จะป้องกันโรค
และหลังจากนั้นฉีดปีละครั้ง
นอกจากการทำวัคซีนแล้วการฆ่า เชื้อบริเวณคอก หรือกรงสัตว์เลี้ยง
ช่วยควบคุมการแพร่โรคได้ แต่ต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่มีส่วนผสมของสาร
โซเดียม ไฮโปคลอไรท์
ซึ่งสารดังกล่าวมีอยู่ในน้ำยาซักผ้าขาว ไฮเตอร์
นั้นเอง อาจเทใส่ ฟอกกี้ แล้วฉีดพ่นกรง
แล้วนำกรงไปตากแดดหรือใช้ราดบริเวณคอกได้ ส่วนยาฆ่าเชื้ออื่นๆเช่น
เดทตอล หรือ แอลกอฮอล์
ไม่สามารถฆ่าเชื้อพาโวไวรัสได้
สุนัขตัวที่เป็นโรคเมื่อถ่ายอุจจาระออกมาแล้ว เชื้ออยู่ได้นาน 5- 6 เดือน
ในสิ่งแวดล้อมโดยที่เชื้อไม่ตาย
เพราะนั้นไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมโรคนี้ถึงพบได้บ่อย พบได้ตลอดปี
แต่ช่วงฤดูฝนพบบ่อยที่สุด เนื่องจากเชื้อกระจายได้ง่าย
สาเหตุที่ทำให้โรคนี้ติดต่อและระบาดได้ ทั่วไปคือ
สุนัขจนจัด และ สัตว์อายุมาก ที่เป็นแหล่งอมโรค
คือมีเชื้อในร่างกาย แต่ไม่แสดงอาการของโรค
เนื่องจากทนต่อโรคมากกว่าลูกสุนัข
บางครั้งพบว่าการที่สุนัขบางตัวชอบเลียรองเท้า ก็สามารถเกิดโรคได้
ทั้งที่ไม่เคยออกนอกบ้านเลย เนื่องจากเจ้าของเดินไปเหยียบย่ำที่ต่างๆ
อาจมีเชื้อปนเปื้อนอยู่
อ้างอิง http://www.thaivet.org
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น