โรคพยาธิไส้เดือนตัวกลม Ascaris
เชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคคือ Ascaris lumbricoides เป็นพยาธิตัวกลมมีขนาดใหญ่ ตัวผู้จะมีความยาว 15-30 ซม ตัวเมียจะมีความยาว 25-35 ซมตัวเมียจะออกไข่วันละประมาณ 200000 ฟองทำให้ง่ายต่อการตรวจอุจาระหาไข่พยาธิ
วงจรชีวิตของพยาธิ
พยาธิตัวแก่อาศัยอยู่ในลำไส้เล็ก แย่งอาหารที่ย่อยแล้วในลำไส้กิน ตัวแก่มีอายุ 6 เดือนถึง 1 ปี มีสองเพศคือตัวผู้และตัวเมีย ตัวเมียจะวางไข่วันละประมาณ 200,000 ฟอง ไข่จะออกมาพร้อมกับอุจาระ ไข่ที่ไม่ได้รับการผสมพันธุ์จะไม่สามารถติดต่อ ไข่ที่ผสมแล้วจะเจริญเป็นตัวอ่อนในเวลา 10-21 วัน เมื่อคนกินในระยะนี้จะเป็นระยะติดต่อ , depending on the environmental conditions (optimum: moist, warm, shaded soil). เมื่อตัวอ่อนถูกกิน , ตัวอ่อนจะไชทะลุผนังลำไส้ , ไปตามหลอดเลือดดำที่ไปเลี้ยงตับ เข้าสู่ปอด. ตัวอ่อนจะเจริญเป็นตัวแก่ในปอดโดยใช้เวลาประมาณ10 ถึง 14 วัน ตัวแก่จะไชผ่านผนังของถุงลม เข้าหลอดลม เข้าคอ และถูกกลืน เชื้อจะเจริญเป็นตัวแก่ ที่ลำไส้เล็ก. ตั้งแต่ได้รับเชื้อจนกระทั่งโตเป็นตัวแก่ใช้เวลา 2-3 เดือน ตัวแก่สามารถมีอายุ 1-2 ปี
โรคพยาธิไส้เดือนตัวกลมจะแพร่กระจายในภาคใต้มากกว่าภาคอื่นเนื่องจากเขตภาคใต้มีความชุ่มชื้นตลอดปี อากาศก็ไม่ร้อน โรคมักจะเป็นในเด็กเพราะเด็กมักจะกิน หรือเล่นบนพื้นดิน
คนจะได้รับพยาธินี้อย่างไร
โรคนี้มักจะเกิดกับเด็กนำเอามือที่ปนเปื้อนดินและมีไข่พยาธิเข้าปาก
อาการของโรค
อาการของโรคพยาธิไส้เดือนแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ
- อาการเกิดจากพยาธิตัวอ่อนกำลังเดินทาง ขณะที่ตัวอ่อนกำลังเดินทางจากลำไส้ไปปอดอาจจะทำให้เกิดไข้ ไอ หายใจแน่ หอบเหนื่อย เสมหะอาจจะมีเลือดปน อาจจะมีพยาธิตัวอ่อนออกมาด้วย บางคนอาจจะเกิดลมพิษอาการเหล่านี้มักจะเกิดภายหลังจากไดรับไข่พยาธิ 4-16 วัน
- อาการเกิดจากตัวแก่ เนื่องจากพยาธิตัวแก่จะแย่งอาหารเด็กอาจจะขาดอาหาร อาจจะมีลมพิษ หากมีพยาธิเป็นจำนวนมากอาจจะเกาะกันเป็นก้อนทำให้อุดทางเดินลำไส้หรือทางเดินน้ำดีทำให้เกิดอาการดีซ่าน
- ปวดท้องเนื่องจากพยาธิอุดลำไส้
- เสียดท้อง คลื่นไส้อาเจียน
- ตับอ่อนอักเสบ เนื่องจากพยาธิไช
- ถุงน้ำดีอักเสบ
- ไส้ติ่งอักเสบ
ผู้ป่วยที่เป็นพยาธิไส้เดือนเวลามีไข้มักจะปวดท้องเนื่องจากพยาธิจะดิ้นเพราะมันทนต่อความร้อนไม่ได้
การวินิจฉัย
- ตรวจพบตัวแก่ออกมาในอุจาระหรือในสิ่งที่อาเจียน
- ตรวจอุจาระพบไข่พยาธิ
<>
<>ไข่พยาธิ
| <>
<>พยาธิตัวแก่
|
การป้องกัน
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสดินเพราะจะทำให้มือสัมผัสกับไข่พยาธิ
- ให้ถ่ายอุจาระให้ห้องน้ำ ไม่ถ่ายอุจาระลงบนดิน
- กำจัดผ้าอ้อมอย่างเหมาะสม
- ล้างมือด้วยสบู่ก่อนรับประทานและเตรียมอาหาร
- หากไปเที่ยวประเทศที่มีระบบสาธารณะสุขไม่ดีต้องระวังน้ำเดิมและอาหารว่าอาจจะปนเปื้อนไข่พยาธิ
- ล้างผักและผลไม้ก่อนที่จะนำไปปรุงหรือรับประทานอาหาร
การรักษา
- Mebendazole ขนาด 100 มก.รับประทานวันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 3 วัน
- Albendazole ขนาด 400 มก.รับประทานครั้งเดียว หากไม่หาย(ยังตรวจพบไข่พยาธิ)ให้ซ้ำอีกครั้งใน 3 สัปดาห์
- Piperazine citrateยานี้เหมาะสำหรับรายที่สงสัยว่าพยาธิจะไปอุดลำไส้หรือท่อน้ำดี เพราะยาจะทำให้กล้ามเนื้อของพยาธิอ่อนแรงขนาดที่ใช้ 305 กรัมวันละ 4 ครั้งเป็นเวลา 2 วัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น